การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม ประจำปี 2567...

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐระดับต่ำกว่ากรม(Integrity and Transparency Assessment of Public Service: ITAP) ประจำปีงบประมาณ 2567


คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงาน

สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม (กต.ตร.สน.ชนะสงคราม)

บัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่งแต่งตั้ง กต.ตร.สน.ชนะสงคราม

กต.ตร. คืออะไร

              - การกำหนด นโยบายการบริหารงานตำรวจและกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ปฏิบัติตามนโยบาย เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) รวมทั้งยังมีหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย การบริหารราชการตำรวจให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และกฎหมายอื่น

              - การตรวจสอบ ติดตามการบริหารงานตำรวจนั้น มีคณะกรรมการตรวจสอบ ติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ในระดับต่างๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัด และสถานีตำรวจ เรียกโดยย่อว่า "กต.ตร.กทม., กต.ตร.จังหวัด และ กต.ตร.สถานีตำรวจ เพื่อตรวจสอบ ติดตาม และประเิมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่ แล้วรายงานให้ ก.ต.ช.เพื่อพิจารณา

              - นอกจากนี้ กต.ตร.กทม., กต.ตร.จังหวัด และ กต.ตร.สถานีตำรวจ ยังมีหน้าที่ในการส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสมและความต้องการแต่ละพื้นที่

บทบาทหน้าที่ กต.ตร.

              1. รับแนวทางและนโยบายการพัฒนาและการบริหารงานตำรวจจากคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลตามนโยบาย

              2. ให้คำปรึกษาและเสนอแนะการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)

              3. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจและการบริหารงานตำรวจ

              4. ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)

              5. รับคำร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจ และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ว่าด้วยการรับคำร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ

              6. ให้ข้อมูลข่าวสารและเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่

              7. ให้คำแนะนำและช่วยเหลือสนับสนุนการประชาสัมพันธ์งานของสถานีตำรวจ

              8. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ กต.ตร.สน./สภ. มอบหมาย

              9. รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ทราบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) กำหนด

              10. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มอบหมาย